Sponsor's Link

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประกัน พ.ร.บ.คืออะไร

คำว่า พ.ร.บ. ที่เรามักพูดกันติดปากนี้ หมายถึง การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดย ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ว่านี้ หากไม่ทำก็จะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือแม้ทำแล้วแต่แต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ (สติกเกอร์ พ.ร.บ.บุคคลที่ 3) ที่รถให้เห็นชัดเจนก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ประกันนี้จึงมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า ประกันภาคบังคับ


ตัวอย่างสติกเกอร์ พ.ร.บ.(ก่อนยกเลิก)



อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 6 เมษายน 2550 ได้มีการยกเลิกการติดสติกเกอร์ดังกล่าวแล้ว เพราะหากไม่ทำกรมธรรม์ พ.ร.บ. ก่อน กรมการขนส่งฯ จะไม่รับจดทะเบียนรถหรือต่อภาษีประจำปีให้ พูดให้ง่ายขึ้นคือ รถทุกคันที่จดทะเบียนได้หรือต่อภาษีประจำปีแล้ว จะมี พ.ร.บ. โดยปริยาย เจ้าของรถเพียงเก็บสำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนากรมธรรม์ไว้กับรถสำหรับอ้างอิงกรณีเกิดอุบัติเหตุก็พอ





วงเงินคุ้มครอง
ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น จะได้เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น(จำง่าย ๆ คือ คุ้มครอง "คน" ไม่คุ้มครอง "รถ") โดยความคุ้มครองจาก พ.ร.บ กำหนดให้มีมูลค่าความรับผิดชอบ (ต่อคน) ดังนี้
  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน  
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
จะเห็นว่าในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต การคุ้มครองจะรวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคนและความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาทต่อคนก่อน แต่หลังจากสอบสวนความตามกฎหมายกับคู่กรณีแล้วผู้ประสบภัยไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินเพื่อช่วยในการปลงศพรายละ 100,000 บาท

การรับความคุ้มครอง
หลังจากประสบภัยจากรถผู้ประสบภัยสามารถขอรับความคุ้มครอง โดย



1.        หากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสามารถแจ้งความจำนงกับโรงพยาบาลในการใช้สิทธิพ.ร.บ.โดยมอบอำนาจให้ทางโรงพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกับบริษัทประกันภัยได้ทันที
2.        หากไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยสำรองจ่ายไปก่อนก็สามารถนำเอกสารไปตั้งเบิกกับบริษัทที่ทำประกันไว้ได้ภายใน 180 วันหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุโดยเอกสารในการเคลมประกันมีดังนี้
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาพ.ร.บ. (หรือพ.ร.บ.ตัวจริงที่เอาประกันอยู่)
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ใบเสร็จรับเงินจากทางโรงพยาบาลที่สำรองจ่ายไปทั้งหมด


แต่ถ้าผู้ประสบภัยยังไม่สามารถสรุปยอดในการใช้จ่ายทั้งหมดได้ในวันเดียวก็สามารถรวบรวมใบเสร็จรับเงินที่ต้องรักษาทั้งหมดให้ได้ก่อนจึงไปตั้งเบิกภายหลังทีเดียวก็ได้ภายใน 180 วันหลังจากประสบภัย

ที่มาที่ไปของการออกกฎหมายนี้
สาเหตุที่ต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. นี้ ก็เพื่อว่า ต้องการให้มีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันว่า เมื่อประสบภัยจากรถแล้วจะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วย รวมถึงเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวด้วย

เจ้าของรถทำ พ.ร.บ. อย่างเดียวได้หรือไม่
สำหรับประกันรถยนต์ กฎหมายบังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากไม่ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้ กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับต่อภาษีรถยนต์ (เหมือนเป็นการบังคับให้ทำประกันภัยชนิดนี้โดยปริยาย) ดังนั้น พ.ร.บ. จึงเพียงพอในแง่ของกฎหมาย แต่ถ้าเราเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น เราต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปจึงมักซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติมเพื่อความคุ้มครอง ซึ่งก็มีหลายแบบให้เลือกตามความต้องการ 

ควรทำประกัน พ.ร.บ. และประกันภาคสมัครใจจากบริษัทเดียวกันหรือไม่
เรื่องนี้มี 2 ประเด็น
ประเด็นที่ 1. 
จริง ๆ แล้วกฎหมายก็ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่า ความคุ้มครองตาม พรบ. นั้นจำกัดอยู่ที่ 50,000 บาท (กรณีที่มีการบาดเจ็บ) หรือ 100,000 บาท (กรณีเสียชีวิต) เท่านั้น มันก็อาจจะไม่เพียงพอในบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเราคงไม่สามารถปัดความรับผิดชอบนี้ได้

ดังนั้น ถ้าเราทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ชั้น 1 - 3) ด้วย กรมธรรม์ประกันภาคสมัครใจจะช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนที่เกินให้ จะเห็นว่า ถ้ากรมธรรม์ประกัน พรบ. กับ กรมธรรม์ภาคสมัครใจมาจากบริษัทประกันเดียวกัน จะทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่การให้ปากคำ การยื่นเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถทำได้พร้อมกัน (แทนที่จะต้องติดต่อประสานงานถึง 2 บริษัท) การดำเนินการก็จะสะดวกกว่าและมีความต่อเนื่องดีกว่า

ประด็นที่ 2. 
ได้มีการออก พ.ร.บ. นี้ ฉบับที่ 5 เมื่อ 19 ก.พ. 2551 โดยกำหนดว่า ถ้าเราทำประกันภัยภาคสมัครใจที่มีเงื่อนไขคุ้มครองที่ครอบคลุมตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. อยู่แล้ว และคิดว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มวงเงินประกันสำหรับผู้ประสบภัยให้สูงไปกว่านี้ เราก็ทำประกันภัยรถยนต์พร้อม พ.ร.บ. ไปเลย (Two in One) ก็นับว่าสะดวกดี และเบี้ยประกันจะลดลงเล็กน้อย

หมายเหตุ
คำว่า พ.ร.บ. จริง ๆ แล้วย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติ หมายถึง บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ

ดังนั้น ประกัน พ.ร.บ. ที่เราพูดย่อ ๆ กัน ถ้าจะย่อให้ถูก ควรพูดย่อว่า ประกันตาม พ.ร.บ. แต่มันก็คงยาวไปสำหรับคนไทยอยู่ดี เพื่อความสะดวกก็เลยเรียกกันย่อ ๆ หลาย ๆ แบบ แต่ก็เป็นที่เข้าใจทั่วกันว่า เป็นการทำประกันภัยตามที่กล่าวมาแต่ต้น เช่น

·                     พ.ร.บ. 
·                     ทำ พ.ร.บ. 
·                     ประกัน พ.ร.บ.

13 ความคิดเห็น:

  1. ทำประกัน พรบ. หากเกิดเหตุ มีข้อยกเว้นไม่จ่ายเงินกรณีใดบ้าง

    ตอบลบ
  2. บุคคล ถูกรถเฉี่ยวชน บาดเจ็บและเสียชีวิต..แต่ไม่รู้ว่ารถอะไร
    ได้รับความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาลจาก พรบ.หรือไม่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    2. ได้ครับ ลองเข้ามาศึกษาดูครับ

      http://broker-apk.blogspot.com/?zx=93b43ac3649df5e6

      ลบ
  3. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ และเข้ารับการรักษาจากทาง
    โรงพยาบาล จนกลับบ้านไปพักรักษาตัวต่อที่บ้าน..ต่อมาคนป่วย
    เสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว พรบ.คุ้มครองจ่ายค่าปลงศพให้อีก
    หรือไม่

    ตอบลบ
  4. พรบ.ขาดอายุ เริ่มต้น และสิ้นสุดความคุ้มครองเมื่อใด

    ตอบลบ
  5. พรบ. คุ้มครองภัยธรรมชาติด้วยหรือไม่ ในกรณีที่ขับรถแล้วถูกฟ้าผ่า
    พายุ ต้นไม้ล้มทับ

    ตอบลบ
  6. พรบ. คุ้มครองบุคคลภายในและภายนอกรถจำนวนเท่าไหร่ กี่คน?

    ตอบลบ
  7. พรบ. จะจ่ายสินไหม ในกรณีที่เสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกินกี่วัน
    นับจากวันเกิดเหตุ ?

    ตอบลบ
  8. ประกันภัยรถยนต์ พรบ. พ.ร.บ.ต่อทะเบียน โอนรถยนต์ โอนรถจักรยานยนต์ รถทุกชนิด จ.ภูเก็ต
    รับทำ ประกันภัย ทุกประเภท ประกันรถยนต์ประเภท 1 2 3 2+ 3+ เปลี่ยนบริษัทประกัน ประกันบ้าน ร้านค้า เรือ โรงแรม อุบัติเหตุ ฯลฯ พรบ. ต่อทะเบียน โอน รถทุกชนิด จ.ภูเก็ต
    ไม่มีเล่มก็ต่อทะเบียนได้ ขอเพียงมีสำเนาทะเบียนรถ
    รับทำประกันภัย ทุกประเภท เคยมีประกันเก่าเอามาทำต่อได้และได้โอนส่วนลด
    รับจัดไฟแนนท์รถยนต์ ไฟแนนซ์รถยนต์ ติดเครดิตบูโร ติดแบล็คลิส creditburo blacklist ก็จัดได้
    car insurance ,house insurance
    พรบ
    พ.ร.บ
    ต่อติดต่อ วุฒิ 088-7532968 LineID:sunyabroker email:sunyabroker@gmail.com website:www.sunyabroker.com

    ตอบลบ
  9. เอาทะเบียนรถให้กับเจ้าหน้าที่ประกันแล้วทำ พรบ มาผิดประเภท จากรถกระบะประเภทนังเกิน 7 คนเป็น รถบรรทุก จะมีผลอย่างไร จะแก้ได้ไหม เสียภาษีไปแล้วด้วย ไม่ได้ดูครับ

    ตอบลบ
  10. เจ๋งมากเลยค่ะ เข้าใจขึ้นเยอะเลย ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  11. สอบถามคัฟ สิทธิ พรบ. คุ้มครองที่ 30,000฿ แต่เบื้องต้นรักษาพยาบาล ไป 9,xxx฿ ยังมีวงเวินคงเหลืออีก จะใช้ส่วนที่เหลือ รักษาต่อเนื่อง ตามสิทธิ ได้หรือไม่คัฟ

    ตอบลบ