Sponsor's Link

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประกันภัยภาคสมัครใจแต่ละประเภท

ชื่อก็บอกครับว่า ไม่ใช่ภาคบังคับแบบประกัน พ.ร.บ. เมื่อเป็น ภาคสมัครใจ แม้ ไม่ทำก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ถ้าถึงคราวเกิดอุบัติเหตุ เราก็ต้องรับผิดชอบเองเต็ม ๆ แต่ถ้าทำไว้ อย่างน้อยก็ช่วยผ่อนหนักเป็นเบา (แค่นั้นจริง ๆ ประกันภัยไม่ใช่เทพหรือของวิเศษที่จะรับผิดชอบทุกอย่างแทนเราหมดอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดกัน)

ประกันภัยรถยนต์บ้านเราแบ่งเป็น 5 ประเภท แต่บริษัทประกันพากันตั้งชื่อว่า "ชั้น" ซึ่งสั้นและเรียกง่ายกว่า ทั้งยังให้ผลทางจิตวิทยาแก่คนทำประกันภัยด้วย (ใคร ๆ ก็อยากเป็นคนชั้น 1 กันทั้งนั้น) โดยมีขอบเขตความคุ้มครองดังนี้

ความคุ้มครอง
ประกันภัย
ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
4
ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
3
ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
2
ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
1



รถเรา
เสียหาย
รถเราหาย / ไฟไหม้
รถเราหาย / ไฟไหม้
ร่างกาย *
คนในรถ+คนอื่น
ร่างกาย *
คนในรถ+คนอื่น
ร่างกาย *
คนในรถ+คนอื่น
รถ / ทรัพย์สิน **
คนอื่น
รถ / ทรัพย์สิน **
คนอื่น
รถ / ทรัพย์สิน **
คนอื่น
รถ / ทรัพย์สิน **
คนอื่น

ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
5 (แบบ 3+)
ประกันภัยรถยนต์
ชั้น
5 (แบบ 2+)

ความคุ้มครอง
ประกันภัย
ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
ร่างกายของผู้ประสบอุบัติเหตุเพราะรถ
เสียชีวิต: 100,000 บาท  / บาดเจ็บ: 50,000 บาท

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 5เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในเมืองไทยภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบ 2+ จะรับผิดต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น  2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี
2. แบบ 3+ จะรับผิดต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น  3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี
  
เงื่อนไขสำคัญของประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 5 ทั้ง 2 แบบคือ

1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และ
2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ ก็จะเคลมอะไรไม่ได้ครับ

หมายเหตุ
* ความเสียหายต่อร่างกายบุคคล รวมถึง การบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและอวัยวะ ทุพพลภาพ ฯลฯ เพิ่มจากส่วนที่ พ.ร.บ. คุ้มครอง และค่าประกันตัวผู้ขับขี่
คนในรถ หมายถึง บุคคลที่อยู่ภายในรถยนต์ หรืออยู่ระหว่างขึ้นลงรถยนต์
คนอื่น หมายถึง บุคคลที่3 นั่นคือ ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกรถ ยกเว้น ผู้ขับ คู่สมรส บุตร บิดา-มารดา และลูกจ้าง

** ความเสียหายต่อทรัพย์สินคนอื่น รวมถึง ตัวรถยนต์ อาคาร สิ่งของ ฯลฯ ที่เสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์



ถ้าเงื่อนไขกรมธรรม์ครอบคลุมผู้ประสบภัยแล้ว ต้องทำประกัน พ.ร.บ. หรือไม่
เดิมนั้นประกันทั้ง 2 จะแยกกัน ทำให้เงื่อนไขกรมธรรม์ภาคสมัครใจ (ส่วนคุ้มครองบุคคลที่ 3) จะซ้ำซ้อนกับประกัน พ.ร.บ. ต่อมาตั้งแต่ สิงหาคม พศ. 2551 (180 หลัง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) เป็นต้นมา ประกันภาคสมัครใจจะเริ่มเป็นแบบควบ พ.ร.บ (Two in One) ซึ่งทำให้เบี้ยประกันโดยรวมลดลงเล็กน้อย (หลักร้อย) โดยประกันภาคสมัครใจที่ไม่รวม พ.ร.บ. จะยังมีอยู่ สังเกตจากใบกรมธรรม์จะมีข้อความคาดกลางกรมธรรม์ว่า ไม่รวม พ.ร.บ. 
ดังนั้น ถ้าใครซื้อรถใหม่มาแล้วทำประกันภัยรถยนต์เลย ก็สามารถได้ประกันทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ แต่ถ้าซื้อรถมือสองที่ไม่มีประกันภัยภาคสมัครใจติดมาด้วย เมื่อมาทำประกันเพิ่ม ระยะเวลาเอาประกันอาจจะไม่ตรงกันกับวันต่อภาษีรถยนต์ ก็อาจจะต้องซื้อประกัน พ.ร.บ. แยกไปก่อน แต่ก็ควรซื้อจากบริษัทประกันเดียวกัน ตามที่กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ประกัน พ.ร.บ. คืออะไร


การเลือกประกันภัยรถยนต์  ไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าแบบใดจะดีที่สุด รถใหม่ป้ายแดงก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นประกันภัยชั้น 1 เสมอไป (นอกเสียจากเช่าซื้อกับไฟแนนซ์) แม้แต่ประกันภัยชั้น 1 ก็ไม่ได้แปลว่าจะแพงเสมอไป แต่มันขึ้นกับปัจจัยความเหมาะสมหลาย ๆ อย่างที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกันว่าจะทำประกันภัยรถยนต์อย่างไรดี  เช่น การสมัครใจจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนแรก การใช้งานรถยนต์เพื่อพาณิชย์หรือใช้ส่วนบุคคล เป็นต้น นอกจากนี้ หลังจากที่ตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์แล้ว ก็ต้องพิจารณาหาบริษัทประกันภัยที่เหมาะสม ควรทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดี เพือจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากบริษัทประกันได้อย่างเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น