ก่อนวางแผนซื้อรถ หลายคนลืมนึกไปว่า
หลังการซื้อรถจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมามาย รวมถึงเบี้ยประกันภัยด้วย ถ้าอยากทราบว่าประกันภัยที่ท่านกำลังจะซื้อควรจะประมาณเท่าไหร่
ลองไปที่เว็บไซต์ของ คปภ.
จะมีไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดสำหรับดูอัตราเบี้ยประกันรถยนต์สำหรับรถยนต์นั่งมาดู
(ตามที่แนะนำไว้ในตอน 1)
ทำความเข้าใจพิกัดอัตราเบี้ยประกันรถยนต์นั่ง
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสำหรับรถยนต์นั่ง (รถไม่เกิน 7 ที่นั่งรวมคนขับ)
สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล (รหัส 110) และการใช้เพื่อการพานิชย์ (รหัส 120) เขากำหนดอัตราพื้นฐาน
อัตราตามการประเมินความเสี่ยง
และอัตราตามความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ข้อมูลจากไฟล์ ณ วันที่ 17/8/2556) ดังนี้
ตารางที่ 1 เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน
ค่าตัวเลขในตารางนี้จะใช้เป็นฐานตั้งต้นในการคำนวณเบี้ยประกันตามองค์ประกอบอื่น
ๆ ต่อจากนี้ไป โดยกำหนดช่วงที่บริษัทประกันภัยจะนำไปใช้คำนวณ ดังนี้
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (บาท)
|
|||
ขั้นสูง
|
12,000
|
5,000
|
3,000
|
ขั้นต่ำ
|
7,600
|
3,000
|
2,200
|
ตารางที่ 2
อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถที่นำมาประเมินเบี้ยประกันภัย จะประกอบด้วย
ลักษณะการใช้รถ ขนาดรถยนต์ (เครื่องยนต์) อายุผู้ขับขี่ อายุรถยนต์ จำนวนเงินที่เอาประกันภัย และกลุ่มรถยนต์
(จัดตามราคาอะไหล่และค่าซ่อม) ดังนี้
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
ลักษณะการใช้รถยนต์
|
|||
ใช้ส่วนบุคคล
|
100%
|
100%
|
100%
|
ใช้เพื่อการพาณิชย์
|
105%
|
105%
|
105%
|
หมายเหตุ: ลักษณะการใช้รถทั้งหมดนั้นแบ่งออกเป็น 10 แบบที่ถือว่ามีอัตราเสี่ยงแตกต่างกันไป
คือ การใช้ส่วนบุคคล การใช้เพื่อการพานิชย์ การใช้รับจ้างสาธารณะ การใช้เพื่อการพานิชย์พิเศษ
(ขนส่งสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ก๊าซ น้ำมัน ฯลฯ) รถยนต์ป้ายแดง (สำหรับผู้ค้ารถยนต์หรืออู่ซ่อม)
รถพยาบาล รถดับเพลิง รถใช้ในการเกษตร รถใช้ในการก่อสร้าง และอื่นๆ
(ที่จัดกลุ่มตามที่กล่าวมาไม่ได้)
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
ขนาดรถยนต์
|
|||
ไม่เกิน 2000 CC.
|
112%
|
87%
|
87%
|
เกิน 2000 CC.
|
100%
|
100%
|
100%
|
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
อายุผู้ขับขี่
|
|||
ไม่ระบุผู้ขับขี่
|
100%
|
100%
|
100%
|
อายุ 18 ถึง 24 ปี
|
95%
|
95%
|
95%
|
อายุ 25 ถึง 35 ปี
|
90%
|
90%
|
90%
|
อายุ 36 ถึง 50 ปี
|
85%
|
85%
|
85%
|
อายุเกิน 50 ปี
|
80%
|
80%
|
80%
|
หมายเหตุ: กรณีมี 2 คน จะถือว่าเอาอายุที่มีความเสี่ยงมากกว่าเป็นเกณฑ์
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
อายุรถยนต์ (ปี)
|
|||
1
|
100%
|
100%
|
100%
|
2
|
100%
|
98%
|
97%
|
3
|
102%
|
83%
|
83%
|
4
|
109%
|
96%
|
96%
|
5
|
115%
|
104%
|
104%
|
6
|
126%
|
105%
|
105%
|
7
|
135%
|
111%
|
111%
|
8
|
144%
|
117%
|
118%
|
9
|
145%
|
123%
|
123%
|
10
|
146%
|
124%
|
124%
|
เกิน 10 ปี
|
147%
|
129%
|
129%
|
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย
จำนวนเงินที่เอาประกันภัยจะเริ่มต้นที่ 50,000
บาท สุงสุดที่
60 ล้านบาท
ในที่นี้แสดงเป็นตารางย่อ ๆ สำหรับรถยนต์นั่ง (รถขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง
รวมคนขับ) สำหรับใช้งานส่วนบุคคลหรือใช้เพื่อการพานิชย์ ให้พอเข้าใจภาพ ดังนี้
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
จำนวนเงินเอาประกันภัย (บาท)
|
|||
50,000
|
100%
|
100%
|
100%
|
500,000
|
210%
|
145%
|
100%
|
5,000,000
|
820%
|
595%
|
100%
|
50,000,000
|
4,420%
|
5095%
|
100%
|
60,000,000
|
5,220%
|
6095%
|
100%
|
กลุ่มรถยนต์
กลุ่มรถยนต์จะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานค่าอะไหล่และค่าซ่อม โดยจะแจกแจงเป็นยี่ห้อ / รุ่นไว้ ถ้ามีได้ระบุไว้
จะอนุโลมใช้ยี่ห้อหรือรุ่นใกล้เคียง ค่าความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มจะเป็นดังนี้
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
|
ประเภท 1
|
ประเภท 2
|
ประเภท 3
|
กลุ่มรถยนต์
|
|||
1
|
140%
|
100%
|
100%
|
2
|
120%
|
100%
|
100%
|
3
|
110%
|
100%
|
100%
|
4
|
105%
|
100%
|
100%
|
5
|
100%
|
100%
|
100%
|
ตัวอย่างรถแต่ละกลุ่ม
กลุ่ม 1 คือรถระดับหรู หรือพวกรถนำเข้าทั้งคัน เช่น Bentley, Cadillac, Jaguar
กลุ่ม 2 คือรถบนหรือที่ไม่ค่อยมีในตลาด หาอะไหล่ยาก เช่น Volvo, Citroen, Holden, Opel Calibra/Omega/Vectra, Saab, Rover, Toyota Crown
กลุ่ม 3 จะเป็นแบบกลุ่ม 2 แต่ยังพอเป็นที่นิยมในตลาด หาอะไหล่หรืออู่ซ่อมง่ายกว่า เช่น Fiat, Ford, Hyundai, Mazda Astina/Cronos, Honda Accord/Civic/CRV
กลุ่ม 4 - 5 ก็จะเป็นรถตลาดทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่าง
กลุ่ม 1 คือรถระดับหรู หรือพวกรถนำเข้าทั้งคัน เช่น Bentley, Cadillac, Jaguar
กลุ่ม 2 คือรถบนหรือที่ไม่ค่อยมีในตลาด หาอะไหล่ยาก เช่น Volvo, Citroen, Holden, Opel Calibra/Omega/Vectra, Saab, Rover, Toyota Crown
กลุ่ม 3 จะเป็นแบบกลุ่ม 2 แต่ยังพอเป็นที่นิยมในตลาด หาอะไหล่หรืออู่ซ่อมง่ายกว่า เช่น Fiat, Ford, Hyundai, Mazda Astina/Cronos, Honda Accord/Civic/CRV
กลุ่ม 4 - 5 ก็จะเป็นรถตลาดทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่าง
ตารางที่ 3 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองต่อบุคคลที่
3
การคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3 เป็นการเพิ่มเงินคุ้มครองเพิ่มจากที่เกินกว่าความจำกัดของความรับผิดชอบพื้นฐาน
(เช่น พรบ. / ความคุ้มครองพื้นฐานตามวงเงินเอาประกันตามตาราง 2)
แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 แบบ คือ
·
ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหรือผู้โดยสารในรถ
(เรียกย่อ ๆ ว่า บจ.)
·
ความรับผิดต่อความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอก
(เรียกย่อ ๆ ว่า ทส.)
วงเงินที่เพิ่มสำหรับ บจ. เริ่มต้นที่ 100,000 บาท/คน หรือ 10
ล้านบาท
/ ครั้งจนถึง ไม่จำกัด (unlimited) ส่วน ทส. จะเริ่มต้นที่ 200,000 บาท / ครั้งจนถึงไม่จำกัด
ตัวอย่างบางส่วนสำหรับกรมธรรม์ประเภท 1
ทส. / ครั้ง
|
บจ. / คน
|
บจ. / ครั้ง
|
|||
บาท
|
ตัวคูณ
|
บาท
|
ตัวคูณ
|
บาท
|
ตัวคูณ
|
200,000
|
1.0000
|
100,000
|
1.0000
|
10 ล้าน
|
1.0000
|
2,000,000
|
1.0100
|
1,000,000
|
1.0110
|
20 ล้าน
|
1.0030
|
Unlimited
|
1.0185
|
Unlimited
|
1.0130
|
Unlimited
|
1.0050
|
ตารางที่ 4 อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่มเติม
การประกันภัยเพิ่มเติมจะประกอบด้วย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
(รย.01) ประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย.02) และการคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่
(รย.03)
การคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะประกอบไปด้วย
1.
สูญเสีย ชีวิต
2.
สูญเสีย มือ เท้า สายตา
3.
ทุพพลภาพถาวร
4.
ทุพพลภาพชั่วคราว
ตัวอย่างตารางอัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (รย. 01)
การประกันภัยสำหรับ
|
การคุ้มครอง ข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.
|
การคุ้มครอง ข้อ 4.
|
ผู้ขับขี่
|
3 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท
|
50 บาท ต่อจำนวนเงินทดแทนแต่ละสัปดาห์ 100 บาท
|
ผู้โดยสารแต่ละที่นั่ง
|
1.50 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท
|
30 บาท ต่อจำนวนเงินทดแทนแต่ละสัปดาห์ 100 บาท
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น