Sponsor's Link

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์ที่ไหนดี pantip


ความจริงผมไม่ใช่ผู้รอบรู้หรอกครับว่า ประกันภัยรถยนต์ที่ไหนดีเพราะในชีวิตจริงผมไม่ได้เปลี่ยนรถยนต์บ่อย ๆ และตั้งแต่ใช้รถยนต์มาก็ยังไม่เคยเคลมประกันเลย แต่มักมีคำถามกันในลักษณะนี้ (ราวกับสมาชิกใน pantip จะขยันตอบกันซ้ำๆ) จึงลองหาข้อมูลใน pantip และในเว็บบอร์ดต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้แล้วเอามาสรุปให้อ่านเป็นแนวทางกัน จึงเป็นที่มาของชื่อบทความที่เห็นนี้

ตามที่ผมเคยเขียนว่า ส่วนใหญ่เรา ๆ ท่านจะถูกบังคับให้เลือกประกันภัยรถจากบริษัทประกันที่เขาทำตลาดร่วมกับไฟแนนซ์ที่ให้บริการเช่าซื้อ ในหัวข้อ ทำประกันภัยรถยนต์ อย่างไรดี แต่เขาใช้คำว่าแถมในปีแรกเพื่อให้มันดูดี ดังนั้น พอถึงเวลาต่อประกันภัยรถยนต์ปีที่ 2 เราก็มักอยากจะเลือกบริษัทประกันภัยที่เราชื่นชอบเอง 

เริ่มต้นที่ แนวทางเลือกบริษัทประกันโดยทั่วไป ก่อน
มีคนให้ข้อคิดเห็นสำหรับคนซื้อประกันภัยรถยนต์ให้มองในหัวข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุ เราอยากเข้าศูนย์ไหน หรือมีอู่ซ่อมในดวงใจที่ไหน ซึงควรน่าจะมีคำตอบเบื้องต้นไว้
2.  ศูนย์หรืออูที่ว่านี้ มีบริษัทประกันภัยรถยนต์ไหนที่เขารับไว้ทำมาค้าขายด้วย คัดเลือกบริษัทประกันภัยมาสัก 3 – 5 เจ้า
3. ตรวจสอบชื่อเสียงบริษัทประกันภัยที่เลือกมา แล้วลดให้เหลือ 2-3 เจ้าก็พอ
4. ตรวจสอบหรือขอการเสนอราคากับโบรกเกอร์ (ตัวแทนหรือนายหน้าจำหน่ายกรมธรรม์) เลือกเอาที่น่าเชื่อถือได้
5. เลือกแบบประกันภัยตามราคาเหมาะกับการใช้งานเรา (ไม่ใช่เอาราคาถูกเข้าว่า เช่น การใช้งานมีความเสี่ยงมากก็ต้องเลือกบริษัทดูแล้วน่าเชื่อถือกว่าแม้จะแพงกว่าก็ตาม) โดยเบี้ยประกันก็คงเป็นตามกลไกตลาดและการประเมินสภาพความเสี่ยงจากการใช้รถ ถ้าจะสองคำนวณเบี้ยก็ลองดูในข้อ วิธีการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ แต่ง่ายสุดก็ถามจากโบรกเกอร์ประกันภัย

แนวทางดังกล่าวไม่ได้เฉพาะการต่อประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 1 เท่านั้น ยังประยุกต์ได้กับประกันภัยประเภท 2+ และ 3+ ด้วย เพราะไม่ว่าเป็นรถเก่าหรือใหม่ เมื่อเกิดอะไรขึ้นเราก็อยากจะซ่อมให้มันกลับคืนดังเดิมให้มากที่สุดทั้งนั้นแหละครับ

สถิติความนิยมบริษัทประกันภัย จากการสำรวจปี 2012 (สถิติปี 2014 ดูที่นี่)
อันนี้ก็อบเขามาอีกที เป็นข้อมูลจากนิตยสาร BrandAge ได้ดำเนินการจัดทำผลการสำรวจความเป็นที่นิยมประกันภัยรถยนต์จากจากผู้บริโภคที่กำลังใช้บริการ ประจำปี 2555 ลองมาไว้เป็นแนวครับ เรียงตามลำดับร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการประกันภัยที่เห็นด้วย โดยตัวเลขในวงเล็บจะเป็นร้อยละของปีที่ผ่านมา ดังนี้

1. วิริยะประกันภัย       51.84% (46.62%) ครองตำแหน่งนี้มายาวนานนับ 10 ปี
2. สินมั่นคงประกันภัย
   12.40%
 (14.45%) ครองอันดับนี้มายาวนานตั้งแต่ปี 2550
3. กรุงเทพประกันภัย    7.85% (6.76%) ขยับขึ้นจากปีก่อน
4. มิตรแท้ประกันภัย
     6.49% (7.46%) ลดลงจากปีก่อน แต่มักวนเวียนอยู่อันดับ 3 - 5
5. ทิพยประกันภัย
        3.29% (4.90%) ลดลงจากปีก่อน
6. อาคเนย์ประกันภัย
    2.91% (2.10%) ขยับขึ้นจากปีก่อน
7. ประกันคุ้มภัย
          2.81% (3.03%) ลดลงจากปีก่อน
7. เมืองไทยประกันภัย 2.81%
 เจ้านี้หลุดจาก 10 อันดับยอดนิยมไปหลายปี เพิ่งมาติดใหม่ปี 2555 แทนที่ “LMG” ที่ได้คะแนน 1.75%
8. เอซ อินชัวรันซ์ 1.55% แทนที่ ธนชาติประกันภัยที่ได้คะแนน 1.63%
9. ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย 1.16% แทนที่
 “ไทยประกันภัย
ที่ได้คะแนน 1.63%

แล้วเราควรไปอยู่ส่วนไหนของสถิติ (จะเอาเจ้าไหนดี)
อย่างว่าแหละครับว่า นอกจากประกันภัยไม่ใช่เทพแล้ว ตัวเขาเองก็ต้องรักษาผลประโยชน์ตนเองเช่นกัน ถ้าค้นตามเว็บบอร์ดดูแล้วแม้บริษัทประกันภัยใน Top 10 ก็ยังเคยโดนด่า ส่วนใหญ่คือตุกติก ทั้งกับลูกค้าตัวเอง ตุกติกกับคู่กรณี (โยนความผิดให้คู่กรณีเพื่อช่วยให้ตนเองเป็นฝ่ายถูกเพื่อไม่ต้องรับผิดชอบ / เอาใจลูกค้าแบบผิด ๆ) ยังไม่รวมปัญหาที่มาจากตัวอู่ที่ร่วมกับบริษัทประกันรถยนต์ 

ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับบริษัทประกันภัย อย่างที่บอกแต่แรกว่า ค้นจาก pantip ซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนทั้งประเทศ ดังนั้น จึงขอใช้ชื่อสมมติให้เป็นปริศนาธรรม ตีความกันเอาเองนะครับ ดังนั้น บางเจ้าที่ไม่มีข้อมูลเพราะไม่มีใครเอามาด่าหรืออาจจะใช้กันน้อย และที่โดนด่ามากก็อาจจะเป็นเพราะคนใช้มาก (มากคนก็เลยมากความเป็นธรรมดา) ดังนั้น ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่าน เพราะข้อมูลมันมาจากการบอกเล่า และจำนวนกระทู้ข้อมูลมันก็ไม่ได้เท่ากัน อ่านไว้เป็นข้อมูลพอเป็นแนวทางก็พอ อย่าจริงจังมาก (เลยเอาไว้ท้าย ๆ) ความเห็นภาพรวมที่พบใน pantip คือ

1. บริษัทที่มีการแนะนำกันมากที่สุดคือ กรุง lnw ประกันภัย กับ วีรีย่าประกันภัย (และน่าจะแพงกว่าใครด้วย) โดยภาพรวม
·         กรุง lnw เคลมง่ายกว่า วีรีย่า
·         เบี้ยประกันของของวีรีย่าจะถูกกว่า และมีอู่ซ่อมมากกว่า
2. บริษัทที่เน้นเบี้ยประกันถูกคือ เจ้าพญา กับ จำลอง (ศรี) แท็กซี่ใช้กันมาก
3. บริษัทที่มีการแนะนำมากสำหรับประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+ กับ 3+ คือ เอขอเชียร์ และ อันอันซีพี
4. บริษัทที่เห็นกันว่ามีความมั่นคง แต่ต้องรับกับวิธีการทำงานแบบรัฐวิสาหกิจได้ เช่น แพงนิด ๆ ติดต่อยาก ทำงานช้า ก็คือ ทิพยเทวาลัย (ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเจ้ามีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือป่าว)
5. บริษัทที่เห็นกันว่าเข้าข้างตัวเองสุด ๆ จิตใจของการเป็นผู้ให้บริการมีน้อย คือ เมืองเทยประกันภัย (ชมพู) ชอบเปลี่ยนสถานะลูกค้าจากผิดเป็นถูกได้ยามมีคู่กรณี แต่ถ้าลูกค้าพลาดเองก็อาจจะเจอค่าเสียหายส่วนแรก (excess) ที่เกินจริงเช่นกัน
6. บริษัทที่เห็นกันว่าควรตัวออกห่างคือ lm9, โตเกี๊ยว, มิตรชุ่ย
7. บริษัทที่เห็นกันว่าดีบ้างไม่มีบ้างปะปนกันตามาตรฐานทั่วไป เช่น น้าคะเน, M51G, เอ็กซ่า, สินไม่เปลี่ยน, เทยประกันภัย (น้ำเงิน), 1NG

ก็หวังว่าพอจะเป็นแนวทางที่ช่วยท่านพิจาณาได้ดีขึ้นครับว่า ควรเลือกประกันภัยรถยนต์ที่ไหนดี


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เบื้องหลังราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (3/3) – วิธีการคำนวณเบี้ยประกัน

การคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์จะคำนวณตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ซึ่งได้กล่าวมาแล้วจากบทความตอนที่ 2  ในที่นี้ใช้ข้อมูลจากไฟล์ ณ วันที่ 17/8/2556 มาสาธิตให้ดู มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตามลักษณะการใช้รถยนต์ ประเภทกรมธรรม์ และการคุ้มครองที่ต้องการ ดังนี้
1.       นำเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (ตาราง 1) x อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย (ตาราง 2  ทุกองค์ประกอบ) x อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครอง (ตาราง 3) สมมติเป็น A
2.       คำนวณเบี้ยประกัยภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่มเติม รย.01 รย.03 (ตาราง 4) ในกรณที่ต้องการ สมมติเป็น B
3.       คำนวนเบี้ยประกันภัยรถยนต์ จะได้ = A + B – 3000 (กรณีประกันประเภท 1 ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกที่บังคับทำโดยตัวสัญญา)
สมมติเป็นได้ค่าเป็น C

ขั้นตอนที่ 2 เอา C ในขั้นตอนที่ 1 - ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ (เพิ่มเติม) สมมติได้ค่าเป็น D

ขั้นตอนที่ 3 แบ่งเป็น 2 กรณี
·         ทำประกันภัยไม่ถึง 3 คัน เอา D ในขั้นตอนที่ 2 – ส่วนลดจากประวัติดี หรือ + ส่วนเพิ่มจากประวัติเสีย
·         ทำประกันภัย 3 คันขึ้นไป เอา D ในขั้นตอนที่ 2 - ส่วนลดจากการทำประกันภัยกลุ่ม
ผลลัพธ์คือ เบี้ยประกันภัยรถยนต์สุทธิที่ต้องชำระ (ยังไม่รวมอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ตัวอย่างการคำนวณ
ความต้องการ
นายนักขับ ชอบประกัน ต้องการต่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นปีที่ 2 ตลอด 1 ปีที่ผ่านมายังไม่เคลมประกันใด ๆ ประกันภัยที่กำลังจะต่อเป็นประเภทที่ 1 ทำกับรถเก๋งขนาด 1800 cc ที่ใช้งานส่วนบุคคล และถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 4 ทั้งนี้ ได้ระบุชื่อผู้ขับเป็นชื่อตนเอง ซึ่งมีอายุ 26 ปี และน้องชายตนเอง อายุ 19 ปี ณ ตอนที่ต่อประกัน รถมีอายุ 2 ปีกว่า ๆ  จึงกำหนดรายละเอียดการขอทำประกันภัยเป็นดังนี้
·         ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (เสียหายจากคันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000 บาท
·         ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000 บาท
·         ความคุ้มครองความรับผิดต่อการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 400,000 บาท
·         ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 300,000 บาท / คน และ 10,000,000 บาท / ครั้ง
·         ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.01 การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะข้อ 1 – 3 สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 6 คน จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท / คน
·         ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.02 การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 7 คน จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท / คน
·         ความคุ้มครองเพิ่มเติมตาม รย.03 การประกันตัวผู้ขับขี่ จำนวนเงินเอาประกัน 100,000 บาท
·         ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (คันเอาประกันภัย) จำนวน 5,000 บาท (โดยสัญญาบังคับ 3,000 บาท ดังนั้นจะมีค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ 2,000 บาท) สำหรับทรัพย์บุคคลภายนอก 5,000 บาท

ขั้นตอนการคำนวณ
เพื่อให้ดูเข้าใจง่าย แต่ละขั้นตอนจะปัดทศนิยม 2 ตำแหน่ง ค่าที่ได้จะคลาดเคลื่อนกันไม่น่าจะเกิน 1 บาท

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์
1.1 คำนวณแต่ละความเสี่ยง
รายการคำนวณแต่ละความเสี่ยง
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
เบี้ยประกันพื้นฐาน
= 7,600
= 12,000
- ใช้ส่วนบุคคล
= 7,600 x 100% = 7,600
= 12,000 x 100% = 12,000
- ขนาดรถไม่เกิน 2,000 cc
= 7,600 x 112% = 8,512
= 12,000 x 112% = 13,440
- ระบุคนขับ เอาตามอายุ 26 ปี
= 8,512 x 90% = 7660.80
= 13,440 x 90% = 12,096
- อายุรถถูกนับเข้าปีที่ 3
= 7660.80 x 102% = 7,814.016
= 12,096 x 102% = 12,337.92
- จำนวนเงินเอาประกันของตัวรถยนต์ 400,000
= 7,814.02 x 180%
= 14065.236
= 12,337.92 x 180%
= 22,208.256
- กลุ่มรถยนต์ที่ 4
= 14065.24 x 105%
= 14,768.502
= 22,208.26 x 105%
= 23,318.673
- คุ้มครองบจ. 300,000 / คน
= 14,768.50 x 1.0075
= 14,879.26357
= 23,318.67 x 1.0075
= 23,493.560025
- คุ้มครองบจ. 10 ล้าน / ครั้ง
= 14,879.26 x 1.0180
= 15,147.08668
= 23,493.56 x 1.0180
= 23,916.44408
- คุ้มครองทส. 400,000 / ครั้ง
= 15,147.09 x 1.0050
= 15,222.82545
= 23,916.44 x 1.0050
= 24,036.0222
ผลลัพธ์ (A)
= 15,222.83
= 24,036.02

1.2 คำนวณความคุ้มครองเพิ่มเติม
รายการคุ้มครองที่ต้องการเพิ่ม
วิธีคำนวณ
คุ้มครองตาม รย.01 ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะข้อ 1 – 3 ทั้งหมด 7 คน คนละ 50,000 บาท
คนขับ = (50,000 / 1000)  x 3 x 1 = 150
ผู้โดยสาร = (50,000 / 1000)  x 1.50 x 6 = 450
รวม = 150 + 450 = 600
คุ้มครองตาม รย.02 คนละ 50,000 บาท
= 12 x 7 = 84
คุ้มครองตาม รย.03 วงเงิน 100,000 บาท
= 100,000 x 0.5% = 500
รวมเบี้ยประกันภัยคุ้มครองเพิ่มเติม (B)
= 600 + 84 + 500
= 1,184

1.3 เบี้ยประกันภัยรถยนต์จะได้เป็น
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
ผลรวมเบี้ยประกัน
= 15,222.83 + 1,184
= 16,406.83
= 24,036.02 + 1,184
= 25,220.02
ผลรวมหลังหักค่าเสียหายส่วนแรกแบบบังคับโดนสัญญา (C)
= 16,406.83 – 3,000
= 13,406.83
= 25,220.02 – 3,000
= 22,220.02

ขั้นตอนที่ 2: คำนวณส่วนลดค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
หักค่าเสียหายส่วนแรกที่จ่ายเพิ่มอีก 2,000 (D)
= 13,406.83 – 2,000
= 11,406.83
= 22,220.02 – 2,000
= 20,220.02

ขั้นตอนที่ 3: คำนวณส่วนลดประวัติดีใน 1 ปีที่ผ่านมา 20% (จ่ายเพียง 80% ของเบี้ยประกันภัยท้งหมด)
รายการคำนวณ
แบบต่ำสุด
แบบสูงสุด
เบี้ยประกันภัยที่จ่าย
= 11,406.83 x 80%
= 9,125.46
= 20,220.02 x 80%
= 16,176.02

ดังนั้น เบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันภัยเสนอขายจะต้องอยู่ระหว่าง 9,125.46 - 16,176.02 เท่านั้น (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรอีกเล็กน้อย)

จะเห็นว่า การสรุปว่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์จะถูกหรือแพงนั้น ต้องเทียบกับความคุ้มครองที่เป็นแบบเดียวกัน (ซึ่งผมเคยกล่าวไว้แล้วบ้างในบทความเรื่อง ทำประกันภัยรถยนต์อย่างไรดี) ส่วนการที่บริษัทประกันภัยจะเสนอเบี้ยประกันมากหรือน้อยก็ขึ้นกับลูกเล่นทางการตลาดรวมถึงชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย เช่น ซ่อมห้าง/ซ่อมอู่ มีรถใช้ระหว่างซ่อม บริการเสริมต่าง ๆ สำหรับผู้ที่อยากลองคำนวณเล่น ๆ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เอ็กเซลแล้วลองเปลี่ยนตัวเลขตัวนะครับ หลังลองก็อาจจะเกิดไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นได้ครับ