Sponsor's Link

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์ไม่ใช่เทพ

เมื่อเรามีรถ สิ่งที่เรานึกถึงคู่กันก็คือ การทำประกันภัยรถยนต์  บางทีเราเองก็ไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่ามีอะไรบ้างที่ประกันภัยรถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ในขณะที่ตัวบริษัทประกันหลายเจ้าต่างก็ทำโฆษณาเพื่อบอกเรา (ที่กำลังหาประกันรถยนต์) ว่าบริการของเขาดีอย่างไร (เช่น มาเร็ว เคลมเร็ว ใจเขา ใจเรา ฯลฯ)  เพื่อโน้มน้าวใจเราให้ไปเลือกใช้บริการจากเขาในขณะที่เรากำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะทำประกันภัยรถยนต์ที่ไหนดี

สิ่งที่เรามักเข้าใจผิด
บรรดาเหล่าโฆษณาของบรษัทประกันภัยที่มักจะให้ภาพว่า เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ทุกอย่างจะจบลงที่บริษัทประกันทั้งหมดราวกับว่าเจ้าของรถที่ทำประกันภัยจะไม่ต้องทำอะไรเลยแม้จะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด  (ซึ่งไม่จริง) ปัญหาที่ตามมาก็คือ ภาพโฆษณาที่มันสื่ออกมามันมาผนวกกับธรรมชาติของเราที่ชอบสบาย ๆ ไม่ชอบความวุ่นวาย  (แถมไม่ชอบอ่านกรมธรรม์)  จนทำให้เราเข้าใจว่า บริษัทประกันจะเป็นนักแก้ปัญหาขั้นเทพแทนเราทุกอย่าง (โดยเฉพาะประกันประเภท แต่เรามักเรียกประกันภัยชั้น 1 จนเหมือนเราเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งก็ไม่จริงอีกนั่นแหละ) พอบริษัทปฏิเสธการชดเชย (ที่อยู่นอกกรอบความคุ้มครอง) ก็มักจะใช้คำพูดว่า “แล้วจะทำประกัน  (ชั้น 1) ไว้ทำไม (วะ)” ที่มากกว่านั้นก็คือ เรามักเผลอจำกัดจิตสำนึกความรับผิดชอบลงตามความจำกัดของประกันภัย โดยลืมไปว่า ประภัยภัยภาคสมัครใจทั้งหลายมีหน้าที่เพียงแบ่งเบาภาระของเราลงบางส่วน (เท่านั้น) เพราะมันเป็นไปตามข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างเรากับบริษัทประกันภัยนั่นเอง

ถ้าเราผิด เราต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำ  (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ  ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

ลองจินตนาการว่า สมมติว่า เพื่อนคนหนึ่งติดหนี้เลี้ยงข้าวเรา 1 มื้อ ให้งบมา 100 บาท (อาจจะเลี้ยงเพราะเราไปช่วยงานเขา หรืออะไรก็ตามที่เขาอยากตอบแทน) ขณะที่เรากำลังเดินหาร้านเราก็มัวเล่น
 Facebook บนมือถือโดยไม่ดูทาง ปรากฎว่าไปเดินชนสาวคนหนึ่งที่กำลังดื่มกาแฟสด กาแฟของเธอคนนั้นก็หกใส่เสื้อเธอคนนั้น ในเหตุการนี้เราผิดเต็ม ๆ เราจะทำอย่างไรจากตัวเลือกต่อไปนี้
·         กล่าวว่า “ผมขอโทษครับ ผมไม่ได้ตั้งใจ” แล้วก็เดินจากไป
·         กล่าวว่า “ผมขอโทษครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจะชนคุณเลย คุณไปเรียกร้องค่าเสียหายจากเพื่อนผมเอาเองนะ” แล้วก็เดินจากไป
·         กล่าวว่า “ผมขอโทษครับ ผมไม่ได้ตั้งใจ เรียกร้องค่าเสียหายจากเพื่อนผมเลยนะ” แต่สาวคนนั้นบอกว่า “กำลังจะไปสัมภาษณ์งาน ฉันอาจจะตกงานเพราะเหตุการณ์นี้ก็เป็นได้นะ” แล้วเราตอบว่า “ก็ขอโทษแล้ว ยังจะเอาอะไรอีก ผมก็บอกคุณแล้วไงว่าไปขอการชดเชยจากเพื่อนผม

ไม่ว่าจะเราเลือกแบบไหนก็ดูตลกทั้งนั้น แต่สิ่งที่เรามักพบเห็นทั่วไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อไหร่ มันจะเกิดเหตุการณ์แบบข้างต้นเลย คือ เจ้าของรถยนต์ที่เป็นฝ่ายผิด  (ที่มีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ) พอยอมรับผิดแล้วถือว่าเป็นจบ จากนั้นจะคอยปัดความรับผิดชอบต่อคู่กรณีตนเองไปที่บริษัทประกันภัยก่อน โดยแทบจะไม่สนใจด้วยซ้ำว่ามันอยู่ในขอบเขตความความคุ้มครองของกรมธรรม์หรือไม่ แม้แต่การติดต่อขอการชดเชยก็ยังให้คู่กรณีติดตามเอาเองโดยอาจจะไม่เคยคิดเคยว่า บริษัทประกันที่ตนเองให้ความไว้วางใจนั้นเล่นแง่กับคู่กรณีเลยหรือป่าว ผมเคยอ่านเจอกรณีนี้ในเว็บบอร์ดบ้าง เช่นใน http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3b4e052058f640e4 หรือท่านเองก็น่าจะเคยผ่านตาในเว็บบอร์ดอื่น ๆ เช่น pantip เป็นต้น

ประกันภัยรถยนต์มีขอบเขตความคุ้มครองที่จำกัด
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ไม่ว่าชั้นประเภทไหน) จะกำหนดขอบเขตความคุ้มครองเบื้องต้นเพียงแค่ ตัวร่างกายและตัวทรัพย์สินเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยเกี่ยวค่าเสียหายอื่น ๆ ในหลายๆกรณี แม้แต่การซ่อมแซมรถยนต์ก็ยังไม่สามารถกำหนดเวลาแน่นอน อย่างเก่งก็แค่ออกใบเคลมเท่านั้น แม้แต่ระยะเวลาที่ดำเนินการซ่อมแซมนั้นก็ยังไม่ได้ทำให้ระยะการคุ้มครองมันเพิ่มขึ้นเลย มันจึงมักมีเรื่องตามมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเราเป็นฝ่ายผิดแต่คู่กรณียังไม่ยอมความเสียทุกเรื่อง  (ซึ่งมันก็เป็นสิทธิ์ของเขาส่วนหนึ่ง) เราควรเผชิญหน้ากับคู่กรณีด้วยตนเองด้วยและเจรจากันแบบแฟร์ที่สุดเท่าที่จะทำได้

เราจะชดเชยเพิ่มเองอย่างไรดีที่เรียกว่าตามสมควร
เราควรรับฟังข้อเรียกร้องของคู่กรณีและแสดงออกถึงความพยายามที่จะรับผิดชอบ แต่การที่จะชดเชยอย่างไรนั้นมันก็ต้องสมเหตุสมผล การทำดีไม่ได้แปลว่าเราไม่ต้องใช้สมองจนตกเป็นเบี้ยล่างตลอด
ตัวอย่าง
เราขับรถไปชนรถคนอื่นเสียหาย เราเป็นฝ่ายผิด ถ้าคู่กรณีต้องใช้รถเดินทางทุกวัน แต่รถต้องรอซ่อมอีกนาน ช่วงนี้ต้องเดินทางวันละ 60 กิโลเมตร เขาต้องจ่ายค่าแท็กซี่ทุกวัน วันละ 300 บาท เขาคง "เรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมจากบริษัทประกันภัยฝ่ายเรา (ถ้าทำได้) แต่ประกันเองก็อาจจะไม่ได้จ่ายให้ตามนั้น (จะด้วยเพราะอะไรก็ตามแต่) คู่กรณีจึงขอการชดเชยส่วนนี้เพิ่มจากเราทุกวันจนกว่ารถจะซ่อมเสร็จ (อาจจะรวมนับกรณีต้องใช้รถประกอบอาชีพ)

กรณีนี้ไม่มีบริษัทไหนชดเชยเพิ่มให้ทันทีที่ขอแน่นอน หรือกว่าจะขอได้ก็วินกันยาว ถ้าเราเอาแต่บอกปัดให้เขาไปไปเรียกร้องเอาจากบริษัทประกันเองเอง ผมว่าถ้าเขาหัวหมอพอและเราประมาทเกินไป เราก็อาจจะแพ้คดีได้ แต่ถ้าตอบตกลงทันทีก็ดูจะเอาเปรียบกันเกินไป ดังนั้น คงต้องเปิดโต๊ะเจรจาแบบสันติกับคู่กรณีและช่วยติดตามความคุ้มครองให้เขาเท่านั้น ซึ่งก่อนเจรจาเราต้องเตรียมข้อมูลเบื้องต้นด้วย (แบบสมเหตุสมผลทั้ง 2 ฝ่าย) เช่น
·                     ตรวจสอบวงเงินชดเชยที่เรามี และเขารับไปแล้วเท่าไหร่
·                     ถ้าเขาขับรถเอง อาจจะต้องเสียน้ำมันประมาณวันละ 6 ลิตร ดังนั้น เขาต้องรับภาระเองอย่างน้อยก็ประมาณ 180 บาท ยังไม่รวมค่าสึกหรอต่าง ๆ (แล้วจะมาเรียกร้องจากเราตั้ง 300 บาทได้อย่างไร)
·                     ถ้าเขาขับรถเอง เขาก็เสี่ยงที่จะต้องรับผิดชอบในการเฉี่ยวชน (ตราบใดที่มีการใช้รถ มันก็เป็นเรื่องปกติที่อุบัติเหตุมันเกิดได้ตลอด)
·                     เขามีโอกาสถูกมิจฉาชีพในคราบคนขับแท็กซี่ปล้นได้ (แล้วเราหาแท็กซี่เจ้าประจำที่เรารู้จักให้เขาได้มั้ย แบบไปรับหน้าบ้านประจำทุกวัน)
·                     บางครั้งการรอซ่อมไม่ได้แปลว่ารถมันใช้งานไม่ได้เสียเลย เอารถไปใช้งานก่อน เมื่อคิวซ่อมมาถึงค่อยเอารถไว้ที่อู่ได้มั้ย (ลองถามอู่ซ่อมดูว่ามันมีวิธีใดบ้าง)
·                     สามารถเช่ารถจากที่อื่นใช้แทนได้มั้ย (เช็คประกันภัยฝ่ายเราว่าคุ้มครองได้แค่ไหน)
·                     ฯลฯ
หากเราเตรียมข้อมูลสำหรับโต้แย้งการเคลมแบบเว่อร์ที่แฟร์ ๆ แสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างดี และคู่กรณีเขามีเหตุผลพอ เราอาจจะไม่ต้องชดเชยอะไรเพิ่มมากจนเกินไป หรือไม่ก็ไม่ต้องถูกฟ้องร้องให้ชดเชยอะไรเพราะบรรยากาศการพูดคุยที่ดีก็เป็นได้ อย่าลืมครับว่า ประกันไม่ได้ทำหน้าที่แทนเราทั้งหมดได้หมดครับ


5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณบทความที่คุณเขียนมากๆครับ ขออณุญาตินำไปเผยแพร่ต่อนะครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. หากเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมก็ยินดีครับ
    ยังไงก็รบกวนอ้างอิงถึงบล็อกผมด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  3. หากมีนขับรถมาชนกำแพงรั้วพัง เค้าทำละเมิดต่อทรัพย์สินจองเราจะด้วยประมาทหรืออุบัติเหตุก็ตามแต่ รถเค้ามีประกันชั้น1เค้าต้องซ่อมให้เราแต่จะเมื่อไหร่ตรงนี้มีระยะเวลาในการเคลประกัน(ในส่วนของเค้ามีกำหนดมั๊ย)แล้วระยะเวลาที่เค้าจะซ่อมรั้วให้เรามีกำหนดหรือไม่หรืออยุ่ที่จะตกลงกัน

    ตอบลบ
  4. หากมีนขับรถมาชนกำแพงรั้วพัง เค้าทำละเมิดต่อทรัพย์สินจองเราจะด้วยประมาทหรืออุบัติเหตุก็ตามแต่ รถเค้ามีประกันชั้น1เค้าต้องซ่อมให้เราแต่จะเมื่อไหร่ตรงนี้มีระยะเวลาในการเคลประกัน(ในส่วนของเค้ามีกำหนดมั๊ย)แล้วระยะเวลาที่เค้าจะซ่อมรั้วให้เรามีกำหนดหรือไม่หรืออยุ่ที่จะตกลงกัน

    ตอบลบ
  5. ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด กรณีเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง
    เราก็ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกทุกครั้งเลย
    ไม่ว่าจะกี่ครั้ง ใช่มั้ยคะ

    ตอบลบ