Sponsor's Link

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 pantip ก็ไม่ใช่เทพ

ผมมักจะพบคำว่า ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 pantip” ใน Google จนอดคิดไม่ได้ว่า ใครหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งก็เป็นได้ เนื้อที่จะเขียนต่อไปนี้เป็นความเข้าใจผิดของใครหลายคนที่มักจะไปตั้งกระทู้ ตอบกระทู้ในเว็บบอร์ดเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (แต่ถูกภาษาการตลาดเปลี่ยนเป็นประกันชั้น 1 ให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าเป็นประกันเหนือชั้น) ก็เลยขอเอาคำนี้มาตั้งเป็นชื่อบทความ ไม่ได้มีเจตนาจะเข้าข้างบริษัทประกันภัยแต่อย่างใด และผมเองก็ไม่ใช่คนขายประกันด้วย

สิ่งที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (ประกันชั้น 1)
คนทั่วไปมักคิดว่า ถ้าทำประกันภัยรถยนต์แล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ภาระทุกอย่างจะเป็นของบริษัทประกันภัย ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเรื่องระหว่างเรากับคู่กรณีโดยตรง (ซึ่งผมเคยยกตัวอย่างแบบขำ ๆ ไว้ในเรื่อง “ประกันภัยรถยนต์ไม่ใช่เทพ”) ส่วนบริษัทประกันภัยนั้นมีหน้าที่แบ่งเบาภาระเราตามสัญญาในกรมธรรม์ระหว่างเรากับบริษัทประกันภัย ดังนั้น ถ้าบริษัทประกันภัยไม่ชดเชยคู่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ มันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะไปคุยกับประกันของเราว่าทำไมไม่ทำตามสัญญา ไม่ใช่ให้คู่กรณีไปไล่เบี้ยเอาเอง เหมือนเราเป็นเจ้าหนี้นาย A แต่เราก็เป็นลูกหนี้นาย B ด้วย ถ้านาย B มาทวงเงินเรา เราก็ต้องจ่าย ไม่ใช่ชิ่งให้นาย B ไปเอาเงินจากนาย A โดยอ้างว่าเราเป็นเจ้าหนี้เขา

ทำไมจึงเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความรับผิดของประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (ประกันชั้น 1)
เอาแบบตรงไปตรงมา หลัก ๆ คือ
1.       จิตสำนึกความรับผิดชอบของเราเอง
2.       การซิกแซกของเจ้าหน้าที่เคลมประกันที่หาทางช่วยลูกค้าตัวเองแบบผิด ๆ (จนลูกค้าเข้าใจว่าถูกต้อง)
3.       เมื่อซื้อรถแบบผ่อน คนซื้อจะถูกบังคับให้ทำประกันภัยชั้น 1 เลยคิดว่ามัน Top สุด ๆ แล้วแต่ที่จริงที่มัน Top เพราะมันมีได้เท่านี้

แล้วจะทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไปทำไม
ความจริงมันมีอยู่ว่า ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจทำ (นอกเหนือประกัน พรบ. ที่กฎหมายบังคับให้ทำก่อนต่อทะเบียนรถยนต์แต่ละปี) โดยกำหนดขอบเขตความคุ้มครองเบื้องต้นทั้ง 4 ด้าน คือ
1.       คุ้มครองตัวรถ (ของเราที่ทำประกันภัยให้) กรณีเกิดอุบัติเหตุ
2.       คุ้มครองตัวรถ (ของเราที่ทำประกันภัยให้) กรณีสูญหายหรือไฟไหม้
3.       คุ้มครองบุคคลที่ 3 (ไม่ว่าจะนั่งอยู่ในรถเราหรืออยู่นอกรถ)
4.       คุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของคนอื่น (ที่เราขับรถของเราตามข้อ 1. ไปชนเขาเข้า)
ถ้าคิดแบบแค่ผิวเผินแล้ว มันดูเหมือนว่ามันครอบจักรวาลแล้ว แต่จะมีน้อยคนที่จะเข้าใจ (หรือทำใจยอมรับ) ว่ามันเป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น มันยังมีเงื่อนไขปลีกย่อยอีกเยอะ เช่น ใครเป็นฝ่ายผิด ตั้งใจให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่

ตัวอย่างการไล่เบี้ยความรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ (แม้จะชั้น 1 ก็ตาม)
เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้ จะมีสักกี่คนจะเข้าใจว่า การไล่เบี้ยของบริษัทประกันภัยก็จะต้องต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายด้วย บางทีเราก็อาจจะถูกโกงแบบไม่รู้ตัว แต่บางครั้งเราก็ชอบคิดแบบเขาข้างตัวเอง (โกงคนอื่น) ขอยกตัวอย่างกรณีคลาสสิค ได้แก่
1.       การคุ้มครองทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถ: ตอนเดินทางเราอาจจะมีสิ่งของติดรถไปด้วย สมมติว่า เราเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไปกับรถด้วย แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วคอมพิวเตอร์มันเสียหาย ใครจะรับผิดชอบกับความเสียหายของคอมพิวเตอร์นี้
a.       กรณีเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ขับรถไปชนรถคนอื่น กรณีนี้บริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าเสียต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกแน่ ๆ ดังนั้น ถ้าในรถของคู่กรณีมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในรถ และเมื่อเกิดเหตุ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็เสียหายด้วย บริษัทประกันภัยฝ่ายเราจะชดใช้ค่าเสียหายของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคู่กรณีด้วย  แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรถเรานั้น จะอยู่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของประกันภัยฝ่ายเราเลย
b.       ในทางกลับกันกรณีเราเป็นฝ่ายถูก เบื้องต้นบริษัทประกันฝ่ายเราจะรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายของตัวรถเท่านั้น (จากนั้นเขาจะไปตามเก็บจากคู่กรณีของเราภายหลัง) แต่ถ้าทรัพย์สินอื่นที่บรรทุกเสียหาย เราต้องไปเรียกร้องจากคู่กรณีเอง ก็ต้องดูอีกว่า คู่กรณีมีประกันภัยรถยนต์หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องดูอีกว่าประกันภัยฝ่ายคู่กรณีเขาจำกัดความคุ้มครองไว้อย่างไรบ้าง
2.       กรณีไม่มีใบขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุ
a.       กรณีเราเป็นฝ่ายผิดและมีใบขับขี่ ประกันจะรับผิดชอบทุกอย่างตามกรมธรรม์ แม้ว่าคู่กรณีจะไม่มีใบขับขี่ หรือรถคู่กรณีไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน ก็ไม่เป็นเหตุให้เราพ้นผิด ส่วนคู่กรณีก็ถูกเปรียบเทียบปรับข้อหาไม่มีใบขับขี่หรือไม่ติดป้ายทะเบียนไป (มันคนละส่วนกัน)
b.       กรณีเราเป็นฝ่ายผิดและไม่มีใบขับขี่ โดยพื้นฐานเบื้องต้นคือ ประกันจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีอาจจะมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมที่ต่างกันไปตามแต่โปรโมชั่น


โดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า ไม่ใช่ทุกอย่างจะลงเอยไปที่บริษัทประกันภัยเสมอไป มันจะเป็นไปได้ในกรณีเดียวก็คือว่า เราพบข้อสัญญาที่ว่า “เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว บริษัทประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 จะรับผิดชอบทุกอย่างเสมือนเป็นผู้ขับขี่ด้วยตนเอง” แต่ผมก็ไม่คิดว่าจะมีข้อนี้ครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ส่วนตัวเราเคยเคลมกับไดเร็คเอเชีย เราว่าเจ้านี้เค้าโอเคนะ ทำเรื่องให้เรียบร้อยเลย

    ตอบลบ